ข่าวสารและกิจกรรม
cover

4 ภาษีที่เกี่ยวข้องกับการเช่าโรงงานและคลังสินค้า

DATE : 14 ก.ค. 2020
VIEW : 20,199

4 ภาษีที่เกี่ยวข้องกับการเช่าโรงงานและคลังสินค้า


1. ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย

การหักภาาี ณ ที่จ่าย โรงงานให้เช่าและคลังสินค้าให้เช่า

ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย เป็นภาษีที่บริษัทหรือผู้ประกอบการที่เช่าโรงงานหรือเช่าคลังสินค้าจะต้องดำเนินการ หัก ณ ที่จ่าย และทำหนังสือรับรองภาษีหัก ณ ที่จ่ายให้แก่ผู้รับเงิน (หรือผู้ให้เช่า) ทุกครั้ง ในอัตราร้อยละ 5 ของค่าเช่าที่มีการจ่ายเงินและนำส่งภาษีภายใน 7 วันของเดือนถัดไป แต่หากเป็นค่าบริการ เช่น ค่าส่วนกลาง ค่าบำรุงรักษาทรัพย์ที่เช่า จะต้องหักภาษีในอัตราร้อยละ 3 ซึ่งเป็นคนละอัตรากับค่าเช่า

ตัวอย่างเช่น 

ค่าเช่า

ตัวอย่างที่ 1:  บริษัท A เช่าโรงงานเพื่อใช้ในกิจการ เดือนละ 100,000 บาท
ต้องหัก ภาษี ณ ที่จ่าย 100,000 x 5% = 5000 บาท นำภาษีส่งกรมสรรพากรและออกหนังสือรับรองภาษีหัก ณ ที่จ่ายให้แก่ผู้ให้เช่า

ดังนั้นค่าเช่าที่ต้องจ่ายผู้ให้เช่า สุทธิ 100,000 บาท – 5,000 บาท เป็นเงิน 95,000 บาท

ค่าบริการ

แต่หากมีค่าบริการด้วย ค่าบริการนั้น จะต้องหักภาษีในอัตราร้อยละ 3 ซึ่งเป็นคนละอัตรากับค่าเช่า และค่าบริการจะต้องบวกภาษีมูลค่าเพิ่มตามกฎหมาย ที่อัตราร้อยละ 7

 

2. ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT)

ภาษีมูลค่าเพิ่ม คลังสินค้าให้เช่าและโรงงานให้เช่า

ค่าเช่าอสังหาริมทรัพย์ต่าง ๆ เช่น ค่าเช่าอาคาร ค่าเช่าโรงงาน และค่าเช่าโกดังคลังสินค้า จะได้รับการยกเว้นไม่ต้องนำมาคิดภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่หากมีค่าบริการอื่นนอกเหนือจากค่าเช่า เช่น ค่าส่วนกลาง ค่าบริการบำรุงรักษาทรัพย์ที่เช่า หากผู้ให้เช่ามีรายได้เกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปีแล้วล่ะก็ ค่าบริการนั้นต้องถูกนำมาคิดภาษีมูลค่าเพิ่มตามกฎหมายค่ะ ซึ่งปัจจุบันมีอัตราอยู่ที่ร้อยละ 7 ส่วนวิธีการคิดภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับค่าบริการจะเหมือนในตัวอย่างที่ 2 ตามด้านบน

 

3. อากรแสตมป์

อากรแสตมป์ คลังสินค้าให้เช่าและโรงงานให้เช่า

ในการทำสัญญาเช่าโรงงานและเช่าคลังสินค้า สัญญาเช่าต้องมีการติดอากรแสตมป์ถึงมีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย ซึ่งค่าอากรแสตมป์นั้นจะอยู่ที่อัตราร้อยละ 0.1 ของค่าเช่าตลอดสัญญาเช่า ส่วนฝ่ายใดจะเป็นผู้รับชอบภาษีส่วนนี้นั้น เป็นการตกลงระหว่างผู้เช่าและผู้ให้เช่า

ตัวอย่างเช่น บริษัท A ทำสัญญาเช่าโรงงานเพื่อใช้ในกิจการ เดือนละ 100,000 บาท โดยทำสัญญาเช่าเป็นระยะเวลา 3 ปี

ค่าเช่ารวมตลอดสัญญารวม 100,000 บาท x 12 เดือน x 3 ปี เป็นเงินค่าเช่าทั้งสิ้น 3,600,000 บาท

อากรแสตมป์นั้นจะอยู่ที่อัตราร้อยละ 0.1 ของค่าเช่าตลอดสัญญาเช่า คิดเป็น 3,600,000 บาท x ร้อยละ 0.1 คิดเป็นค่าอากรแสตมป์ทั้งสิ้น 3,600 บาท

 

4. ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง

ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกส้ราง ให้เช่าคลังสินค้าและให้เช่าโรงงาน

ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง เป็นภาษีที่จะเริ่มใช้งานในปี 2563  โดยอัตราภาษี 2 ปีแรก (พ.ศ.2563-2564) จะเก็บภาษีที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างอื่น นอกจากการประกอบเกษตรกรรมและเป็นที่อยู่อาศัย ซึ่งรวมถึงที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ใช้ด้านพาณิชยกรรม ห้าง ร้าน สำนักงาน โรงงาน โกดัง คลังสินค้า เป็นต้น ในอัตราดังนี้ ส่วนฝ่ายใดจะเป็นผู้รับชอบภาษีส่วนนี้นั้น เป็นการตกลงระหว่างผู้เช่าและผู้ให้เช่า

  • มูลค่าไม่เกิน 50 ล้านบาท         คิดอัตราภาษี 0.3%
  • มูลค่า 50-200 ล้านบาท           คิดอัตราภาษี 0.4%
  • มูลค่า 200-1,000 ล้านบาท       คิดอัตราภาษี 0.5%
  • มูลค่า 1,000-5,000 ล้านบาท    คิดอัตราภาษี 0.6%
  • มูลค่า 5,000 ล้านบาทขึ้นไป      คิดอัตราภาษี 0.7%

เพราะฉะนั้นผู้ประกอบการก็ต้องหาข้อมูลเตรียมพร้อมรับมือไว้ก่อน บทความภาษีที่ดืนและสิ่งปลูกสร้าง ได้ที่นี่

 

5. เกร็ดอื่น ๆ เกี่ยวกับภาษีที่เกี่ยวข้องกับการเช่าโรงงานและโกดังคลังสินค้า

เงินประกันสัญญาเช่า ให้เช่าคลังสินค้าและให้เช่าโรงงาน

ส่วนใหญ่แล้วกิจการให้เช่าอสังหาริมทรัพย์มักจะมีการเรียกเก็บเงินประกันหรือเงินมัดจำ ซึ่งมักจะเข้าใจผิดและถือเป็นเงินได้ของผู้ให้เช่าและผู้จ่ายเงินได้ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย แต่กรมสรรพากรมีคำสั่งออกมาว่าผู้จ่ายเงินได้ไม่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายและเงินมัดจำนี้ก็ไม่ถือเป็นเงินได้ของผู้ให้เช่าด้วย

 

Source : https://www.pattanakit.net/index.php?lay=show&ac=article&Id=538702709&Ntype=134